วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

วันสำคัญทางศาสนา






วันสำคัญทางศาสนา


คลิ๊กดูรายละเอียด วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา : โ อ ว า ท ป า ฏิ โ ม ก ข์

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส

   เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้น

อัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ 
พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้น
จึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี


คลิ๊กดูรายละเอียด วันวิสาขบูชา
 วันวิสาขบูชา : ประสูติ - ตรัสรู้ - ปรินิพพาน
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา 

ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ 
" ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗


คลิ๊กดูรายละเอียด วันอัฏฐมีบูชา
 วันอัฏฐมีบูชา : วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) 

ความหมาย เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่

ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบาง
ส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถาน
นั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา" 


คลิ๊กดูรายละเอียด วันอาสาฬหบูชา
 วันอาสาฬหบูชา : พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

   วันอาสาฬหบูชา เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา เพราะเป็นครั้ง

แรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ 
วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้ง
ยังทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า
 "ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร" ซึ่งได้แก่อริยสัจ 4 ซึ่งหมายถึง ความจริงอันประเสริฐ
 4 ประการคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว โกญฑัญญะ 
ก็สำเร็จพระโสดา รู้ตามกระแสพระธรรมของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงนับได้ว่า วันนี้
เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบเป็นองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า นับเป็นวันแรกที่ พระพุทธเจ้าทรงประกาศ
พระพุทธศาสนา 


คลิ๊กดูรายละเอียด วันเข้าพรรษา
 วันเข้าพรรษา
ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

   ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงมี

พระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จ ไปยังทุกแห่งหน เพื่อสั่งสอนหลักธรรมอันประเสริฐ
จนมีพุทธสาวกมากมาย โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สุขแก่หมู่มวลมนุษย์โลก
พระองค์ได้เสด็จไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล ต่อมา ปรากฏว่าในช่วงพรรษา
หรือช่วงฤดูฝนได้มีผู้ร้องขอต่อพระองค์ว่าได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้าเพราะ
ถูกเหยียบโดยพุทธบริษัท ซึ่งไม่ได้เจตนา ดังนั้นพระองค์จึงออกพุทธบัญญัติ
กำหนดให้ พระสงฆ์ทุกรูป จำพรรษา เป็นหลักเป็นแหล่งในช่วงฤดูฝน โดยให้เริ่ม
ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 นับเป็น เวลา 3 
เดือน ในวันเข้าพรรษานี้จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ 
พระภิกษุ สามเณร รวมทั้งยังมีการ ถวายเทียนพรรษา แก่วัดอีกด้วย


คลิ๊กดูรายละเอียด วันออกพรรษา
 วันออกพรรษา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่

ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

 หลังจากวันออกพรรษาแล้วมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมทำกันมากคือ

 การทอดกฐิน


คลิ๊กดูรายละเอียด วันโกน-วันพระ
 วันโกน - วันพระ
วันโกน คือ วันขึ้น ๗ ค่ำ กับ ๑๔ ค่ำ และแรม ๗ ค่ำ กับแรม ๑๔ ค่ำ ของทุก เดือน

 ( หรือ แรม ๑๓ ค่ำ หากตรง กับเดือนขาด ) ซึ่งเป็นวันก่อนวัน พระ ๑ วัน นั่นเอง
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ กับ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ กับแรม
 ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน(หากตรงกับเดือนขาด อาจเป็น แรม ๑๔ ค่ำ )





การละเล่นของไทย




การละเล่นของไทย

การละเล่นเด็กไทย เป็นการละเล่นของเด็กตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันมักไม่ค่อยได้พบเห็นการละเล่นประเภทเหล่านี้กันบ่อยนัก เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

ตัวอย่างเช่น



รีรีข้าวสาร




 วิธีเล่น
      1. ผู้เล่น 2 คนยืนหันหน้าเข้าหากันโน้มตัวประสานมือกันเป็นรูปซุ้ม
      2. ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อ ๆ กันตามลำดับ
      3. หัวแถวจะพาลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้องบทร้องประกอบการเล่น 
      4. เมื่อร้องถึงประโยคที่ว่า “คอยพานคนข้างหลังไว้” ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันคนสุดท้ายไว้ ซึ่งคนสุดท้ายจะถูกคัดออกไปจากแถว แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหม่ทำเช่นนั้นจนหมดคน

เพลงร้องประกอบ
       "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
       เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน
       คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว้"

คุณค่า/แนวคิด/สาระ
      1. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
      2. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
      3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
      4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้











มอญซ่อนผ้า




           การละเล่นแสนสนุกที่ทำให้ผู้เล่นได้ลุ้นไปด้วย โดยใช้อุปกรณ์เพียงแค่ผ้าผืนเดียวเท่านั้น แล้วให้ผู้เล่นเสี่ยงทาย ใครแพ้คนนั้นต้องเป็น "มอญ" ส่วนคนอื่น ๆ มานั่งล้อมวง คนที่เป็น "มอญ" จะต้องถือผ้าไว้ในมือแล้วเดินวนอยู่นอกวง จากนั้นคนนั่งในวงจะร้องเพลงว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ" 


ระหว่างเพลงร้องอยู่ คนที่เป็น "มอญ" จะแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง แต่เมื่อทิ้งผ้าแล้ว จะแกล้งทำเป็นยังไม่ทิ้ง โดยเดินวนไปอีก รอบ หากผู้ที่ถูกทิ้งผ้าไม่รู้ตัว "มอญ" จะหยิบผ้ามาตีหลังผู้เล่นคนนั้น แล้วต้องกลายเป็น "มอญ" แทน แต่หากผู้เล่นรู้ตัวว่ามีผ้าอยู่ข้างหลัง ก็จะหยิบผ้ามาวิ่งไล่ตี "มอญ" รอบวง "มอญ" ต้องรีบกลับมานั่งแทนที่ผู้เล่นคนนั้น แล้วผู้ที่วิ่งไล่ต้องเปลี่ยนเป็น "มอญ" แทน

ประโยชน์ ที่ได้คือ
ด้านร่างกาย ได้ออกกำลังกายด้วยการเดินการวิ่งทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงกระฉับกระแฉงว่องไว
ด้านสติปัญญา  การมีไหวพริบปฏิพานและมีความรู้สึกที่รวดเร็วขึ้น
ด้านอารมณ์  สามารถควบคุมอารมณ์ของตอนเองได้ในขณะเล่นรู้จัก
ด้านสังคม ได้เข้ารวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ทำให้รู้จักการอยู่รวมกันและเล่นกันเป็นหมู่คณะ






ประเพณีไทย แซนโดนตา

ประเพณีไทย แซนโดนตา



      แซนโดนตา   เป็นประเพณีไทยเซ่นไหว้บรรพบุรุษของเขมรชาวไทย  เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา 
โดยเฉพาะชนชาวเขมรในเขตพื้นที่อีสานตอนใต้ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ  สุรินทร์  บุรีรัมย์ เป็นต้น  
เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ย้อนรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้มีพระคุณ  สืบสานขนบธรรมเนียมที่ลูกหลานต้อง
ฏิบัติต่อบิดามารดา ครูอาจารย์  และยึดหลักคำสอนทางพุืทธศาสนา คำว่า "แซน" แปลว่า เซ่น ในภาษา
ไทย โดนตา  เป็นคำนามที่ใช้เรียกบรรพบุรุษ หมายถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  ในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 
เป็นวันสาร์ทใหญ่ ชาวเขมรจะเตรียมการเป็นพิเศษ  เพราะเป็นวันรวมญาติก็ว่าได้  ลูกหลานไปอยู่แห่งหน
ใดก็จะกลับมาทำพิธีนี้อย่างพร้อมเพรียง  ส่วนวันขึ้น 15 ค่ำเดือนสิบก่อนหน้านี้ถือเป็นวันสาร์ทน้อย
 ชนชาวลาวจะถือเป็นวันสาร์ทของเขา
  พิธีแซนโดนตา ประเพณีในหมู่บ้านหนองคล้า กลุ่มชาวเขมร  (บ้านหนองคล้ามี 2 ภาษา 
ลาว,เขมร  ส่วนลาวได้รับอิทธิพลนี้มากทีเดียว)   จะเริ่มเตรียมสิ่งของก่อนถึงวันสาร์ท  เช่น บ่มกล้วยให้
สุกทันวันห่อข้าวต้ม ผลไม้ต่าง ๆ ไก่ย่าง(ส่วนมากจะย่างทั้งตัว) ปลาย่าง หมูย่าง เนื้อย่าง  อาหารคาวหวาน
ต่าง ๆ หมาก พลูบุหรี่มวน ธูป เทียน ดอกไม้และอื่น ๆ   เมื่อพร้อมแล้วก็จัดสำรับเซ่นไหว้ใส่ภาชนะที่ใหญ่ ๆ
 เช่น ถาดหรือกระด้ง เพื่อจะได้ใส่เครื่องเซ่นได้เยอะ ๆ และอีกส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับทำบุญที่วัด


          วันขึ้น 14 ค่ำเดือนสิบ  ผู้ที่เป็นบุตรหลานไม่ว่าจะเป็นเขย  สะใภ้  จะต้องส่งข้าวสาร์ทหรือเครื่อง
เซ่นนี้ไปให้พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย  เพื่อให้ท่านได้ใช้เครื่องเซ่นนั้นทำพิธีเซ่นต่ออีกทีหนึ่ง  ส่วนปู่ ย่า ตา ยาย
 ก็จะมอบสิ่งของตอบแทนให้ จะเป็นผ้าซิ่น ผ้าไหม หรือสิ่งใดก็แล้วแต่ เป็นรางวัลให้ลูกหลานผู้รู้จักกตัญญู   
พอตอนเย็นวันนี้จะเริ่มทำพิธีเซ่นไหว้กัน  เมื่อพี่น้องลูกหลานมาพร้อมหน้ากันแล้วก็จุดธูปเทียน  โดยผู้
อาวุโสที่สุดจะเป็นผู้บอกกล่าวอัญเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษ  คนที่เป็นหมอพราหมณ์จะรู้ขั้นตอนนี้ดีจะมี
คำกล่าวคำเชิญเฉพาะ  แต่ผู้ที่ไม่เป็นก็เพียงแค่กล่าวเอ่ยชื่อ นามสกุลของบรรพบุรุษให้ถูกต้อง มีศักดิ์เป็นปู
ป็นทวดอย่างไรก็เอ่ยให้ถูกต้องก็ใช้ได้แล้ว  และคนกล่าวอาวุโสรองลงมาตามลำดับ  จะต้องเอ่ยชื่อ 
นามสกุลของบรรพบุรุษให้ถูกต้องครบถ้วนทุกคน  เพื่อแสดงความรำลึกกตัญญูู  ในขณะกล่าวเชิญก็กรวด
น้ำไปด้วย




           เมื่อครบทุกคนแล้วก็หยุดพักระยะหนึ่ง  แล้วทำพีธีต่ออีกจนครบคนละ 3 รอบ  รอบสุดท้ายนี้ให้รวมหยาดน้ำพร้อมกันเป็นอันเสร็จพิธี  แล้วนำเครื่องเซ่นส่วนหนึ่งออกไปโปรยข้างนอกเพื่อเผื่อแผ่แก่ผีพเนจร ผีไม่มีญาติ ผีอื่น ๆ ตามความเชื่อ  แต่ผู้เฒ่าผู้แก่จะยังทำพิธีเซ่นไหว้และกรวดน้ำนี้เป็นระยะ ๆ บางคนก็ทำตลอดคืน  ตื่นนอนเมื่อไรก็เซ่นไหว้กันตอนนั้น  ดึก ๆ เงียบสงัดจะได้ยินเสียงบ้านไกล้เรือนเคียงร้องเรียกวิญญาณบรรพบุรุษดังมาเป็นระยะ ๆ  บางครั้งก็ให้รู้สึกโหยหวนวังเวงน่าขนลุกเหมือนกัน  (เหอ ๆ ๆ).....


          พอได้เวลาตีสาม หรือเวลาประมาณ 3 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น(แรม 15 ค่ำเดือน 10 )  ชาวบ้านก็
จะนำเครื่องเซ่นนี้ไปแห่เวียนรอบศาลาวัดหรืออุโบสถ 3 รอบ แล้วนำขึ้นไปให้พระสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลทำพิธีกรรมทางศาสนา  โดยนำขนมข้าวต้ม กล้วยเป็นกระบุง ไก่ย่างเป็นตัว อาหารคาวหวานผลไม้ต่าง ๆ ตามที่กล่าวถวายพระแล้ว  พระจะได้ฉันมื้อนี้แต่เช้ามืด

เครื่องเซ่นไหว้ที่นำไปวัด

          เสร็จแล้วชาวบ้านก็จะนำเครื่องเซ่นที่พระสวดแล้วไปวางตามสถานที่ที่เหมาะสมเช่น ตามรั้ววัด ตามธาตุเจดีย์  หรือตามโคนไม้  เพื่อผีวิญญาณจะได้มากิน  บางคนก็นำออกไปวางตามไร่นาของตน ตามที่คิดว่าน่าจะมีผีเจ้าสถิตย์อยู่


เสร็จแล้วก็กลับบ้าน ไปเตรียมข้าวและอาหารมาทำบุญตักบาตร วันนี้วันพระ แรม 15 ค่ำ เดือน 10  ชาวบ้านพุทธศาสนิกชนจะร่วมใจกันทำบุญประเพณีแซนโดนตาครั้งนี้  โดยพระสงฆ์จะได้รับภัตตาหารฉันในมื้อเช้านี้อีก  ส่วนตอนเที่ยงก็จะได้รับภัตตาหารเพลปกติ  รวมวันนี้พระจะได้ฉันอาหาร  3  มื้อ......
          ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตามประเพณีนี้ ทำให้รู้จักการกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ  สืบสานพระพุทธศานา มีวัฒนธรรมและจารีตที่งดงาม

ประเพณีไทย


ประเพณีไทย


ประเพณีเข้าพรรษา


              ประวัติวันเข้าพรรษานั้นเริ่มต้นจากเมื่อสมัยพุทธกาลโดยพระพุทธเจ้าเป็นผู้กำหนดขึ้นเนื่องจากมีผู้มาเรียกเรียนว่า พระภิกษุสงฆ์เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยไม่หยุดหย่อนเลยแม้กระทั่งหน้าฝนที่ฝนตกหนัก และน้ำหลาก การเดินทางลำบาก กระทั้งบางครั้งพระสงฆ์เหล่านั้นยังเดินไปเหยียบย่ำพืชผัก หรือผลผลิตที่กำลังเติบโต และกำลังผลิดอกออกผล ได้รับความเสียหาย
       ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้กำหนดให้ฤดูฝนเป็นฤดูสำหรับการหยุดพักการเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาของพระสงฆ์โดยกำหนดให้ตั้งแต่วันแรม 1ค่ำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา จนถึงวันขึ้น 15ค่ำเดือน 11และ เป็นวันออกพรรษา เพื่อพระสงฆ์จะได้หยุดพักจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติและศึกษาพระธรรมเพิ่มเติม และสั่งสอนลูกศิษย์หรือพระใหม่ที่เพิ่งบวชได้ร่ำเรียนธรรมะอย่างเต็มที่ โดยให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ไม่ไปจำวัดที่อื่นตลอดระยะเวลา 3เดือนที่เข้าพรรษานั้นแม้แต่คืนเดียว หากพระสงฆ์ไม่สามารถกลับมาทันก่อนรุ่งสางถือว่าภิกษุนั้นขาดพรรษา แต่มีข้อยกเว้นหากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถกลับมาได้ทัน แต่ต้องกลับมาภายใน 7วัน นั้นคือ
  1. ไปรักษาภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
  2. ไปห้ามไม่ให้ภิกษุสงฆ์นั้นสึกออกจาการเป็นพระสงฆ์
  3. ไปเพื่อธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปยารักษาโรคหรืออุปกรณ์ซ่อมแซมศาสนะสถาน
  4. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา
             หากมีเหตุจำเป็นเหล่านี้พระสงฆ์สามารถกระทำ สัตตาหกรณียะ คือ ไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาหรืออาบัติแต่อย่างใด ซึ่งนอกจากจะห้ามดังกล่าวแล้วพระสงฆ์จะได้มีอากาศได้อบรม หรือเทศนาให้กับพุทธศาสนิกชนที่เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรม และถือศีลปฏิบัติธรรมตลอดระยะเวลา 3เดือนที่เข้าพรรษา ซึ่งนั้นคือที่มาและประวัติวันเข้าพรรษาที่เราชาวพุทธต้องรู้และปฏิบัติ
และหากมีเหตุจำเป็นสุดวิสัยจริงๆที่ทำให้ไม่สามารถกลับมาทันได้ ก็ถือว่าไม่อาบัติหรือขาดพรรษาแต่อย่างใด ซึงได้แก่
  1. ถูกโจรปล้น ถูสัตว์ทำร้าย วิหารถูกไฟไหม้หรือน้ำท่วมจำเป็นต้องไปอยู่ที่อื่นก่อน
  2. ชาวบ้านถูกโจรปล้น จำเป็นต้องย้ายไปพร้อมกับชาวบ้านด้วย
  3. ขาดแคลนยารักษาโรค หรืออาหาร จำเป็นต้องออกไปบิณฑบาต
  4. มีผู้เอาทรัพย์มาล่อ อนุญาตให้หนีไปเสียให้พ้นได้
  5. ภิกษุสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามทำให้ภิกษุสงฆ์ในวัดแตกกัน ให้ไปเพื่อหาทางระงับได้
แต่เหตุเหล่านี้มีน้อย หรือไม่มีแล้วในปัจจุบัน และมีบางข้อเท่านั้นที่ยังมีให้เห็นได้ เช่น เหตุที่ขาดแคลนอาหารของพระสงฆ์ของวัดที่อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน หรือผู้คน


วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

คุณธรรมจริยธรรมของครู

คุณธรรมจริยธรรมของครู

วินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

          

          การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
          1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
           2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
           3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
           4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
            5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
            6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ